Hormone Therapy (HRT ) หรือ ฮอร์โมนบำบัด
ฮอร์โมนคืออะไร
ฮอร์โมน (hormone) คือ สารเคมีที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลข่าวสารที่สร้างขึ้น จากกลุ่มเซลล์ในต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) แล้วส่งไปตามกระแสเลือด ไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย เพื่อกระตุ้น หรือยับยั้งกระบวนการต่างๆ ในเซลล์ หรืออวัยวะเป้าหมาย (target cell หรือ target organ) ทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการต่างๆ ในร่างกายหลายอย่างเช่น ช่วยในการเจริญเติบโต ช่วยให้มนุษย์สามารถสืบพันธุ์ มีลูกหลาน เป็นต้น
ฮอร์โมนที่สร้างขึ้นจะถูกปล่อยเข้ากระแสเลือดเพื่อไปมีผลต่ออวัยวะเป้าหมาย ซึ่งอาจอยู่ไกลจาก แหล่งผลิตมาก ตัวอย่าง เช่นการทำงานของฮอร์โมน เอฟ เอส เอช(FSH : follicle stimulating hormone) ซึ่งผลิตจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าแต่ไปมีผลต่อการทำงานของรังไข่ ที่อยู่ไกลจาก ต่อมใต้สมอง
เซลล์หรืออวัยวะเป้าหมาย หมายถึง อวัยวะที่มีตัวรับสัญญาณ (receptor) ของฮอร์โมนนั้นอยู่ ดังนั้น แม้ว่าจะมีฮอร์โมนไหลเวียนไป กับกระแสเลือดทั่วร่างกาย พร้อมๆ กัน แต่ฮอร์โมนหนึ่ง ก็จะมีผลต่อเซลล์หรืออวัยวะเป้าหมายเฉพาะ เช่น ฮอร์โมนไทรอยด์สติมูเลติงฮอร์โมน (TSH) มีผลต่อต่อมไทรอยด์ อินซูลินมีผลที่ตับ กล้ามเนื้อ เป็นต้น
หน้าที่ของฮอร์โมนที่สำคัญมีดังนี้
- การสืบพันธุ์ โดยการกระตุ้นการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ ได้แก่ การสร้างเซลล์สืบพันธุ์ การเจริญเติบโตและพัฒนาการตามวัย เช่นฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน อีสโทรเจน โพรเจสเทอโรน ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าได้แก่ LH และ FSH ฮอร์โมนเกี่ยวกับการสืบพันธุ์จะควบคุมการเจริญของไข่ในเพศหญิง และอสุจิในเพศชาย กระตุ้นลักษณะทางเพศและขบวนการต่างๆ เพื่อให้พร้อมในการสืบพันธุ์
- การเจริญเติบโตกระตุ้นทำให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง (metamorphosis) การเติบโตเป็นผู้ใหญ่ (maturation) เช่น การทำงานของโกรทฮอร์โมน อินซูลิน กลูโคคอร์ติคอยด์ และฮอร์โมนเพศการรักษาสภาวะภายในร่างกายให้คงที่ เช่น การรักษาปริมาณน้ำในร่างกาย ความดันโลหิต สารอิเล็กโทรไลต์ ความเป็นกรดด่าง ระดับน้ำตาลในเลือด และแคลเซียมในเลือดเป็นต้น
- การสร้างและใช้พลังงาน โดยการควบคุมอัตราเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน เช่น ฮอร์โมนอินซูลิน กลูคากอน ไทรอยด์ฮอร์โมน เป็นต้น
เมื่อมีความกลัวหรือความตื่นเต้นฮอร์โมนจะกระตุ้นให้เกิดการสร้างพลังงานได้จำนวนมาก โดยต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมนชื่ออิพิเนฟรินหรืออะดรีนาลีน เตรียมพร้อมในการเผชิญหน้าหรือต่อสู้กับอันตรายหรือหลบหนี ทำให้สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ที่ปกติไม่สามารถทำได้ เช่น ยกตู้เสื้อผ้า ยกตู้เย็น อุ้มคนอื่นเพื่อหนีอันตรายได้ เป็นต้น
จะเห็นว่าการทำหน้าที่ของฮอร์โมนในการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งต้องทำงานโดยฮอร์โมนหลายๆ ชนิดทำหน้าที่ร่วมกัน เสริมฤทธิ์กัน หรือต่อต้านกันเพื่อให้ร่างกายสามารถทำงานหรือพัฒนาการ ไปได้ตามปกติ
ฮอร์โมนหลักๆในระบบต่อมไร้ท่อ :
1. HGH เป็นฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมไร้ท่อของมนุษย์ตั้งแต่วัยเด็กการหลั่งของ HGH จะสูงสุดในวัยเจริญพันธุ์และหลั่งลดลง 14 % ทุกๆ10ปีการศึกษาพบว่าร่างกายมนุษย์ต้องการฮอร์โมนที่สำคัญตัวนี้ตลอดชีวิต HGH มีผลสำคัญต่อไปนี้ :
- สำคัญต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยเฉพาะวัยเด็ก
- ควบคุมการเจริญเติบโตของกระดูกจนอายุ 25 ปี
- ช่วยให้เนื้อเยื่อของร่างกายแข็งแรง
- ฟื้นฟูความเป็นหนุ่มสาวผิวพรรณเต่งตึงขึ้นกล้ามเนื้อแน่นขึ้น กระดูกแข็งแรงขึ้น
- เสริมสมรรถภาพทางเพศ และระบบภูมิต้านทาน
2. Melatonin เมลาโธนิน เป็นฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมไพเนียล (Pineal Gland)ฮอร์โมนนี้มีผลคล้ายยานอนหลับ คนแก่ที่นอนไม่หลับจะหลั่งเมลาโธนินน้อยกว่าคนหนุ่มสาว เมลาโธนินมีความสำคัญดังต่อไปนี้ :
- ช่วยให้หลับสนิท
- ลดอาการสับสนในเรื่องเวลาของสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น อาการอ่อนเพลีย เมื่อเดินทางโดยเครื่องบินเป็นเวลานาน
- เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูง ลดความเสื่อมของ เซลล์และกำจัดของเสียที่เกิดจากการ เผาผลาญพลังงานในร่างกาย
3. Thyroid Gland Hormone ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์หลั่ง จากต่อมไทรอยด์ที่เรารู้จักกันดีอยู่บริเวณหน้ากระดูกคอ การขาดฮอร์โมนตัวนี้ จำทำให้สติปัญญาด้อยลง อ้วนขึ้น ผิวพรรณ และเส้นผมแห้งหรืออาจเป็นโรคหัวใจ มีหน้าที่สำคัญคือ :
- ควบคุมการเจริญเติบโตและการทำงานของสมองทารก
- ช่วยให้อวัยวะและเนื้อเยื่อเจริญเติบโตเป็นปกติในสมอง
- ควบคุมกลไกการเผาผลาญพลังงานของเซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่างๆ
4. Insulin หลั่งจากเซลล์ตับอ่อนชนิด Isletes of Langerhans อินซูลิน เป็นฮอร์โมนสำคัญ ที่ควบคุมการเผาผลาญน้ำตาลกลูโคส ระดับกลูโคสในเลือดจะควบคุมการหลั่งฮอร์โมนตัวนี้ การขาดอินซูลินมีผลทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น จน เสียสมดุลทำให้เป็นโรคเบาหวาน หน้าที่ของอินซูลินมีดังต่อไปนี้ :
- ช่วยให้เซลล์ดูดซึมกลูโคสที่เกิดจากการเผาผลาญอาหาร
- ควบคุมระดับของกลูโคสในเลือดและป้องกันโรคเบาหวาน
- ช่วยร่างกายสะสมพลังงานในรูปของ ไกลโคเจน (Glycogen)ไว้ที่ตับ
- ป้องกันน้ำตาลส่วนเกินในตับไม่ให้เปลี่ยนเป็นไขมัน
5. DHEA หลั่งจากต่อมหมวกไต เป็นฮอร์โมนที่หลั่งมากที่สุดของร่างกายมนุษย์และยังช่วยสร้างฮอร์โมนเพศ เช่น เอสโตรเจน และเทสโทสเตอโรน DHEA เสริมสุขภาพต่อไปนี้ :
- เสริมระบบภูมิต้านทาน ปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
- ควบคุมหน้าที่ของตับและอวัยวะต่างๆ
- ป้องกันเบาหวานในผู้ใหญ่ป้องกันมะเร็ง
6. Oestrogen เป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่สำคัญที่สุดเอสโตรเจน ผลิตจาก รังไข่ ในสตรีแต่ในผู้ชายก็สามารถผลิตได้ในปริมาณเล็กน้อยจากต่อมลูกหมาก หน้าที่ของเอสโตรเจนคือ
- ควบคุมการทำงานของสอมง
- ป้องกันปัญหาในสตรีวัยทองเช่นอาการร้อนวูบวาบ และอารมณ์หงุดหงิด
- ช่วยให้เนื้อเยื่อร่างกายเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ ควบคุมความยืดหยุ่นและความชุ่มชื้นของช่องคลอด รวมทั้งเส้นเลือด และผิวพรรณ
7. Corpus Luteum Hormone เป็นฮอร์โมนที่สำคัญอีกตัวหนึ่งของผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ ฮอร์โมนตัวนี้ช่วยให้มดลูกพร้อมที่จะตั้งครรภ์ได้
- ระหว่างการมีประจำเดือน ฮอร์โมนตัวนี้ช่วยให้ผนังเซลล์ของมดลูกเจริญเติบโตและหนาตัวขึ้น
- ช่วยให้มดลูกขยายตัวขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์
- ทำให้เนื้อเยื่อหน้าอกเจริญเติบโตขึ้นป้องกันมะเร็งในวัยทอง
8. Testosterone เป็นฮอร์โมนเพศที่สำคัญในผู้ชาย ฮอร์โมนตัวนี้จะลดลง 1 % ทุกๆปีใช้ผู้ชายอายุ 40-47 ปี เมื่อฮอร์โมนนี้ลดลงผู้ชายจะมีอาการวัยทองเช่น สมรรถภาพเสื่อมปัญหาต่อมลูกหมากโตหน้าที่ของฮอร์โมนตัวนี้คือ
- ทำให้เกิดความต้องการทางเพศทั้งหญิงและชาย
- กระตุ้นการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อ กระดูก ผิวหนัง อวัยวะเพศ เม็ดเลือด
- กระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผม หนวด เครา และ อวัยวะเพศชาย
- เสริมการทำงานของสมอง สติปัญญา ความเข้าใจ และสามารถในการสังเกตรวมทั้งประสาทสัมผัส
Dr.One Clinic ให้บริการตรวจวิเคราะห์ระดับฮฮร์โมน( Hormone Level) ตรวจสุขภาพ ให้คำแนะนำ และรักษาผู้ที่มีปัญหาสุขภาพกรณีที่มีภาวะพร่องของฮอร์โมนโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง สนใจติดต่อได้ที่เบอร์โทร 053-285088,083-9490841 เปิดให้บริการทุกวันยกเว้นวันอาทิตย์ เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยให้ท่านได้กลับมามีสุขภาพที่แข็งแรง สดชื่น กระปรี้กระเปร่า มีความสุขและมีพลังในการใช้ชีวิตเช่นเดียวกับตอนที่ท่านยังเป็นหนุ่มเป็นสาว
“Boost Your Well Being and Get Your Sex Hormones Level Checked”